Tuesday, November 14, 2006

มุกดาหาร















http://www.moohin.com/ > มุกดาหาร / MUKDAHAN
ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงแขวงสวันเขต มีหมู่บ้านชุมชนใหญ่ชื่อบ้านหลวงโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณพระธาตุอิงฮัง แขวงสวันเขตในปัจจุบัน โดยมีเจ้าจันทรสุริยวงศ์ปกครอง มีบุตรชายชื่อเจ้ากินรี ซึ่งต่อมาได้ข้ามลำน้ำโขงมาฝั่งขวาที่บริเวณปากห้วยมุก สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ณ ที่นั้นในปี พ.ศ. 2310 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 และตั้งชื่อเมืองว่า “มุกดาหาร” อันเกิดจากศุภนิมิตรที่พบเห็นในขณะที่กำลังสร้างเมือง ชาวเมืองทั่วไปเรียกมุกดาหารว่า เมืองมุกในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช อุปราชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2321เดิมเมืองมุกดาหารมีฐานะเป็นเมืองขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ 17 ของภาคอีสานจังหวัดมุกดาหารเป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง 70 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่มีถึง 8 เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยแสกและไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มุกดาหารมีพื้นที่ประมาณ 4,339.830 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4261 2297, 0 4263 2379เทศบาลเมืองมุกดาหาร โทร. 0 4261 1227ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155ตำรวจทางหลวง โทร. 1193สภอ.เมืองมุกดาหาร โทร. 0 4263 3533โรงพยาบาลมุกดาหาร โทร. 0 4261 2977ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4263 2878สถานีขนส่ง โทร. 0 4261 1478,0 4263 0486
อำเภอหนองสูง
แก่งกะเบาKaeng Kra Bao lslet(มุกดาหาร)
น้ำตกตาดโตน(มุกดาหาร)
วักมโนภิรมย์Manophirom Beach(มุกดาหาร)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอดอนตาล
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว(มุกดาหาร)
ภูผาแต้ว(มุกดาหาร)
ผามะเกลือ(มุกดาหาร)
ภูผาหอม(มุกดาหาร)
ภูสระดอกบัว(มุกดาหาร)
ภูผาแตก(มุกดาหาร)
ลานดอกไม้บนภูวัด(มุกดาหาร)
กลองมโหระทึกBronze Drum(มุกดาหาร)
หอยสมัยหินStone-Age Conch Shell(มุกดาหาร)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอนิคมคำสร้อย
วนอุทยานภูหมู(มุกดาหาร)
วัดภูดานแต้Phu Dan Tae Temple(มุกดาหาร)
อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก(มุกดาหาร)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
ถ้ำฝามือแดงFah Mue Daeng(มุกดาหาร)
อุทยานแห่งชาติมุกดาหารMukdaharn National Park(มุกดาหาร)
ภูมโนรมย์Phu(มุกดาหาร)
ภูนางนาค(มุกดาหาร)
ภูผาเทิบPhu Pha Therb(มุกดาหาร)
ลานมุจลินท์(มุกดาหาร)
ภูถ้ำพระPhu Tham Phra(มุกดาหาร)
ศาลเจ้าพ่อฟ้ามุ่งเมืองThe Mung Muang Shrine(มุกดาหาร)
ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องThe Song Nang Phee Nong(มุกดาหาร)
วัดศรีมงคลใต้Sri Mongkol T'ai Temple(มุกดาหาร)
พระพุทธสิงห์สอง(มุกดาหาร)
วนอุทยานดงบังอี่(มุกดาหาร)
การเดินทางรถยนต์ มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 642 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อ.บ้านไผ่-มหาสารคาม-อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด-อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด ผ่าน อ.ประทาย อ.พุทไธสง อ.พยัคฆภูมิพิสัย –อ.เกษตรวิสัย-อ.สุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2169 ผ่านทรายมูล อ.กุดชุม อ.เลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่ จ.มุกดาหาร
รถโดยสารประจำทาง บริษัทขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน โทร. 0 29362852-66 นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางเชื่อมระหว่างมุกดาหารและจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน อาทิ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี นครพนม สกลนคร อุดรธานี และมหาสารคามกำหนดเวลาและรายละเอียดสอบถามได้ที่ สถานีขนส่งจังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4261 1421,0 4261 1478,0 4261 3025-9
http://www.transport.co.th/
รถไฟ มีรถด่วน รถเร็ว และรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ทุกวัน จากนั้นต่อรถโดยสารไปยังจังหวัดมุกดาหาร ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690,0 2223 7010, 0 2223 7020
http://www.railway.co.th/
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีบริการเที่ยวบินไปจังหวัดมุกดาหารโดยตรง หากประสงค์เดินทางโดยเครื่องบินต้องเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี หรือ นครพนม จากนั้นต่อรถโดยสารไปจังหวัดมุกดาหาร ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร.1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000
http://www.thaiairways.com/
แผนที่จังหวัดมุกดาหาร/map of MUKDAHAN
ตราประจำจังหวัด
รูปปราสาทสองนางสถิตย์ ภายในมีแก้วมุกดาหารอยู่ในพาน ใต้พานรองรับด้วยผ้าทิพย์


คำขวัญประจำจังหวัด
หอแก้วสูงเสียดฟ้า ผาเทิบ แก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน


ดอกไม้ประจำจังหวัด


ต้นไม้ประจำจังหวัด


อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร และนครพนมติดต่อกับจังหวัดยโสธร และอำนาจเจริญติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด


การปกครอง
เขตการปกครองมี 7 อำเภอ 53 ตำบล 502 หมู่บ้าน


เนื้อที่
4,339.830 ตารางกิโลเมตร


ความหนาแน่น
78 คน / ตารางกิโลเมตร


ประชากร
รวม 338,276 คน เพศชาย 169,727 คน เพศหญิง 168,549 คน


พืชเศรษฐกิจ
ข้าวนาปรัง ข้าวนาปี ถั่วลิสง มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปอแก้ว


สัตว์เศรษฐกิจ
ไก่ เป็ด สุกร โค กระบือ ปลาน้ำจืด


อาชีพหลัก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และ อุบลราชธานี มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศ ทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เทือกเขาทิศตะวันตกมีความสูงเฉลี่ย 500-1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง มีความสูง 1,571 เมตร และภูกระดึงสูง 1,325 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำชี และลำตะคอง
ทางด้านทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่างภาคอีสานของไทย กับกัมพูชา และลาว มีความสูงเฉลี่ย 400-700 เมตร ยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ สูงประมาณ 1,292 เมตร
ส่วนตอนกลางของภาคมีเทือกเขาภูพานทอดตัวจากเหนือลงสู่ทิศใต้ แบ่งภาคอีสานออกเป็น 2 ส่วน คือ
แอ่งโคราช คือ บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของภาคอีสานทั้งหมด
แอ่งสกลนคร คือบริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพาน และบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขง
การค้นพบโครงกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์บนแผ่นหินทรายที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ หรือแม้แต่ภาพเขียนของมนุษย์โบราณตามผนังถ้ำ รวมทั้งวัฒนธรรมบ้านเชียง และซากโบราณวัตถุมากมาย ทำให้การขุดค้นหาร่องรอยอารยธรรมในอดีตของดินแดนอันมั่งคั่งแห่งนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ
แม้ว่าชาวอีสานที่อาศัยอยู่ในที่ราบสูงโคราชนี้ จะประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่า เช่น เขมร ส่วย (กุย) แสก ย้อ ผู้ไทย กะโส้ (โซ่) รวมทั้งไทยโคราช ซึ่งแต่ละเผ่าย่อมมีความแตกต่างกัน แต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยึดมั่นอยู่ในจารีตประเพณี ที่เรียกว่า "ฮีตบ้านคองเมือง" และ "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" สอนให้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมกิจกรรมสังคมและ งานบุญงานกุศลเป็นประจำ ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของกลุ่มชนเหล่านี้มีความสงบสุขตลอดมา
ด้วยอุปนิสัยขยันขันแข็ง และสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ จิตใจผ่องใสอ่อนโยน และเวลาที่ว่างจากการทำนา จึงคิดสร้าง สรรค์งานศิลป์ในรูปแบบต่างๆ ผ้าไหมลายสวย ผ้าฝ้ายทอมือที่นับวันจะหายาก ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องจักสาน และเครื่องปั้นดินเผา สร้างรายได้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง
ความอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติที่สวยงามบนยอดเขาสูงหลายแห่ง แหล่งรวมอารยธรรมโบราณนับพันปี ที่ทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิตที่เรียบง่าย และความมีน้ำใจของชาวอีสาน ยังคงเป็นเสน่ห์ที่มัดใจ ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนอีสานอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน

ทำนา ทำไร่ รับจ้าง ค้าขาย

No comments: